พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
เข้าสู่ระบบ
หน้าแรก
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ค้นหาข้อมูล
เข้าสู่ระบบ
พระสมเด็จบางขุน...
พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่ พร้อมใบเซอร์
-รับประกันความแท้ตามตำราและหลักวิทยาศาสตร์ รวมถึงธรรมชาติวิทยา
-เป็นพระบ้านโดยแท้ ซึ่งคุณพ่อกิมเฮี้ยง แซ่อึ้ง ได้เริ่มเก็บสะสมวัตถุมงคลตั้งแต่ ปี 2488 และได้รับจากวัดและเจ้าอาวาสโดยตรงเป็นส่วนใหญ่
-เฉพาะที่คุณพ่อเก็บไว้ก็กว่า 70 ปีแล้วครับ
-การพิจารณาพระสมเด็จ 1.มีที่มา 2.มีพิมพ์ทรงตามตำรา 3.มีอายุความเก่าถึงยุคตามธรรมชาติ 4.มีมวลสาร เป็นต้น
*******************
พ.ศ. 2411-2413 การก่อสร้างปฎิสังขรณ์วัดใหม่เริ่มดำเนินการโดยสมเด็จพุฒาจารย์(โต)ประธานฝ่ายสงฆ์ เสมียนตรา (ด้วง) ต้นตระกูลธนโกเศศ และเครือญาติ..ฝ่ายฆาราวาส บูรณะวัดบางขุนพรหมนำพระสมเด็จจำนวน 84,000 องค์ เสร็จสมบูรณ์
ได้ขอประทานผงวิเศษจากสมเด็จพุฒาจารย์(โต) เพื่อสร้างพระสมเด็จ และให้ท่านปลุกเสกบรรจุในเจดีย์ จึงเรียกว่า "พระสมเด็จบางขุนพรหม"
เสมียนตราด้วง ท่านเป็นต้นสกุล ธนโกเศศ เป็นคหบดีผู้มั่งคั่งย่านบางขุนพรหม และจากหน้าประวัติของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อดีตท่านเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ ผู้ประติมากรรมพระสมเด็จวัดระฆัง อันมีค่านิยมสูงจนรั้งตำแหน่งราชาแห่งพระเครื่องมาโดยตลอดนั้น ท่านเสมียนตราด้วง ท่านได้ปวารณาตัวเป็นโยมอุปัฏฐากและรับใช้ใกล้ชิดในท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ พระองค์นั้นอย่างเสมอต้นเสมอปลายตลอดมาทุกยุคทุกสมัย แต่ครั้งท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังเป็นสามเณร และได้จำเริญสมณศักดิ์จนได้รับพระมหากรุณาธิคุณสถาปนาเป็นที่สมเด็จพระพุฒา จารย์ จนกระทั่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านชราภาพ ชนม์มายุได้ ๘๔ ปี จึงได้ลาจากสมณศักดิ์ยกขึ้นเป็นกิตติมศักดิ์ ท่านได้จึงมาพักผ่อนและแสวงหาความสงบวิเวกอยู่ ณ ที่วัดบางขุนพรหม กำกับดูแลช่างเขียนภาพประวัติส่วนตัวของท่านและควบคุมช่างก่อสร้างพระศรี อริยเมตไตรยอีกด้วย
วัดบางขุนพรหมในอดีตนั้นเป็นวัดที่มีอาณาเขตที่กว้างขวางมากวัดหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านกลับมาพักผ่อนเป็นที่สำราญอารมณ์อยู่นั้น ได้มีชาวบ้านในย่านบางขุนพรหมได้นำเอาที่ดินอันเป็นเรือกสวนไร่นามาถวายท่าน เจ้าประคุณสมเด็จฯ แล้วรวมเป็นที่ดินของวัดบางขุนพรหม และเพื่อให้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างพระหลวงพ่อโต เมื่อรวมที่ดินของวัดบางขุนพรหมแล้วมีอาณาเขตกว้างขวาง ทิศตะวันตกจดแม่น้ำเจ้าพระยา ทางทิศเหนือจดคลองเทเวศร์ ทิศตะวันออกถึงบ้านพานบ้านหล่อพระนคร
ครั้นถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.๕ ทรงพิจารณาเห็นความจำเป็นในการถมนาเพื่อความเจริญของบ้านเมือง จึงทรงมีพระราชดำริให้ตัดถนนวิสุทธิ์กษัตริย์ผ่านกลางวัดบางขุนพรหม จึงทำให้วัดบางขุนพรหมต้องแยกออกเป็นสองวัด คือ วัดบางขุนพรหมใน หรือ วัดใหม่อมตรส ในปัจจุบัน และวัดบางขุนพรหมนอก คือวัดอินทรวิหาร อันเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโต (พระศรีอริยเมตไตรย) และเมื่อทางราชการได้ตัดถนนสามเสนก็ได้แบ่งที่ดินของวัดบางขุนพรหมออกไปอีก ส่วนหนึ่ง
วัดบางขุนพรหมเป็นวัดเก่าแก่มีมาแต่สมัยอยุธยาเป็นราชธานี และเป็นวัดที่สร้างอยู่บนที่ดอนห้อมล้อมไปด้วยเรือกสวนและไร่นา เข้าใจว่าเป็นวัดที่ประชาชนในละแวกนั้นช่วยกันสร้างและบูรณะสืบต่อๆ กันมา เมื่อปีจอ พุทธศักราช ๒๓๒๑ เจ้าอินทรวงศ์ราชโอรสในพระเจ้าธรรมเทววงศ์ ผู้ครองนครศรีสัตนาครหุตได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ในรัชสมัยพระเจ้า ตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี ต่อมาครั้นสร้างกรุงเทพมหานครเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ทว่าวัดบางขุนพรหมไม่เคยได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์เลยสักครั้งเดียว สิ่งก่อสร้างต่างๆ ได้ปรักหักพังลง สืบต่อมาจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.๕ เสมียนตราด้วง พร้อมกับชาวบ้านในย่านบางขุนพรหมและท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้ร่วมใจกันบริจาคจตุปัจจัยไทยธรรมจัดการสร้าง และซ่อมแซมวัดบางขุนพรหมขึ้นมาใหม่ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ นอกจากนั้นแล้วยังได้จัดสร้างพระมหาเจดีย์องค์ใหญ่ประดิษฐานไว้ที่หน้าวัด บางขุนพรหมเป็นพิเศษอีกด้วย เมื่อดำเนินการสร้างพระมหาเจดีย์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านเสมียนตราด้วงพร้อมกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้จัดสร้างพระพิมพ์เนื้อผงสีขาวอย่างพระสมเด็จวัดระฆัง มีจำนวนมากถึง ๘๔,๐๐๐ องค์ บรรจุไว้ในพระมหาเจดีย์เพื่อเป็นพุทธบูชาและการสืบพระศาสนาตามคดีโบราณนิยม อีกด้วย
อนึ่งการสร้างพระสมเด็จบรรจุพระมหาเจดีย์ที่วัดบางขุนพรหมนั้นได้รับความ อนุเคราะห์จากท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ โดยให้ใช้แม่พิมพ์สมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามของท่านที่เคยใช้ในการสร้างพระสม เเด็จวัดระฆัง คือ
พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่
พระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์
พระสมเด็จพิมพ์เกศบัวตูม
พระสมเด็จพิมพ์ฐานแซม
และปรากฎสมเด็จวัดระฆัง และสมเด็จวัดเกศไชโยปะปนอยู่ด้วย
นอกจากพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆัง ดังกล่าวแล้วนั้น ทางคณะท่านผู้สร้างพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมยังได้ให้นายช่างผู้แกะแม่พิมพ์ วัดระฆัง เจ้าเดิม แกะแม่พิมพ์พระสมเด็จทั้ง ๔ พิมพ์ ดังกล่าวแล้วเพิ่มเติมขึ้นมาอีก และยิ่งไปกว่านั้นยังให้แกะแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมขึ้นมาในรูปทรง ใหม่อีก ๗ พิมพ์คือ
พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้าย
พระสมเด็จพิมพ์สังฆาฏิ
พระสมเด็จพิมพ์สังฆาฏิ
พระสมเด็จพิมพ์ฐานคู่
พระสมเด็จพิมพ์ปรกโพธิ์
พระสมเด็จพิมพ์อกครุฑ
พระสมเด็จพิมพ์ไสยาสน์
รวมในกรุวัดบางขุนพรหมมีพระทั้งสิ้น ๑๑ พิมพ์ด้วยกันก็จริงและแต่ละพิมพ์ทรงยังมีแม่พิมพ์ที่แตกต่างกันออกไปอีกมาก อย่างเช่น พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้าย มีแม่พิมพ์ที่ต่างพิมพ์กันไปอีกหลายพิมพ์ ตัวอย่างเช่น พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายใหญ่ พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายแขนกลม พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายแขนหักศอก เป็นต้น
อนึ่ง การบรรจุพระสมเด็จไว้ในพระเจดีย์ที่วัดบางขุนพรหมนั้นเป็นงานบุญครั้งยิ่ง ใหญ่ซึ่งนานทีปีหนจึงจักมีสักครั้งหนึ่ง ในครั้งต่อมาการบรรจุพระพิมพ์ ๒๕ พุทธศตวรรษ ที่นับเป็นการใหญ่และค่อนข้างจะเป็นทางการดังนั้น การบรรจุพระสมเด็จที่กรุวัดบางขุนพรหม ชาวบ้านร้านตลาด ตลอดจนประชาชนทั้งไกลและใกล้ย่อมจักทราบกันเป็นอย่างดีและเป็นข่าวที่เล่า ขานสืบต่อๆ กันมาจนกระทั่งถึงสงครามโลกครั้งที่ ๑ ประเทศไทยได้ส่งทหารหาญไปร่วมรบ ในการนี้ได้ปรากฎมีประชาชนแอบเข้ามาใช้ดินเหนียวปั้นเป็นลูกกลมๆ แล้วหย่อนลงไปตามช่องลมพระเจดีย์เพื่อให้พระสมเด็จติดก้อนดินขึ้นมา ทีแรกก็ทำกันอย่างลับๆ ล่อๆ เพียงไม่กี่ตน ครั้นตกได้พระสมเด็จขึ้นมามีการเช่าซื้อปรากฎเป็นสนนราคาขึ้นมาแล้วเท่านั้น แหละ ปรากฎว่าแห่กันมาเป็นการโกลาหล ครั้งแรกทางวัดมิได้ห้ามหวงแต่อย่างใด แต่พอนานๆ เข้าเห็นว่าจะไม่ได้การ จึงทำการโบกปิดช่องลมที่พระเจดีย์เสียการตกเบ็ดพระสมเด็จกรุบางขุนพรหมได้ ยุติลงพระสมเด็จบางขุนพรหมซึ่งได้จากการตกในครั้งนั้น นิยมเรียกว่าพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่าจะไม่ปรากฎขี้กรุชัดเจน ผิวจะเรียบ จะมีอยู่บ้างก็เป็นชนิดราบนวลขาว ที่เรียกว่าฟองเต้าหูเท่านั้น ผิวพระจึงเรียบงดงามเพราะไม่มีขี้กรุผสมผสานกับดินกรุดินแน่นเป็นก้อนสี น้ำตาลแก่ ชนิดลอกขี้กรุออกนั้นต้องใช้หัวกรอฟันจึงจะเอาออกได้วัดบางขุนพรหมได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดใหม่อมตรส ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวบูรณะปฏิสังขรณ์กรุงเทพฯ ๑๕๐ ปี (พ.ศ. ๒๔๗๕)
เมื่อได้พิจารณาถึงการสร้างพระสมเด็จบางขุนพรหมแล้ว ท่านจะเห็นว่า การสร้างพระสมเด็จในครั้งนี้นั้นไม่เหมือนกับการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังที่อยู่ในลักษณะ ที่ค่อยทำค่อยไปไม่รีบเร่ง รวบรวมผงวิเศษวัสดุอาถรรพณ์และวัตถุมงคลได่แค่ไหนก็ทำไปแค่นั้น มวลสารในพระสมเด็จวัดระฆัง จึงหลากหลายและมีความแตกต่างกันไปบ้างเป็นธรรมดา เพราะการผสมมวลสารต่างกรรมต่างวาระกัน ผิดกับการสร้างพระสมเด็จที่วัดบางขุนพรหม เข้าใจว่าคงจะระดมชาวบ้านช่องมาช่วยกันสร้างกันเป็นงานใหญ่ครั้งมโหฬารให้ สำเร็จกันเลยทีเดียว มวลสารของสมเด็จกรุบางขุนพรหมส่วนมากจึงเป็นไปในลักษณะอย่างเดียวกันคือ เนื้อจะแก่ปูนหอย หรือปูนเพชร ผสมผสานด้วยผงวิเศษซึ่งสำเร็จจากสูตรสนธิ์อันเป็นอักขระเลขยันต์ตามตำรา บังคับ เช่น ผงปถมัง อิถเจมหาราช ตรีนิสิงเห และผงนะอักขระวิเศษต่างๆ อันมีนะ ๑๐๘ เป็นต้น เนื้อหาจึงดูกระด้างไม่หนึกนุ่มและอุดมไปด้วยมวลสารอันมีวัสดุมงคลและ อาถรรพณ์อย่างกับพระสมเด็จวัดระฆัง หรือจะพูดโดยสรุปก็คือมวลสารจะหนักไปทางผงปูนหอยเมื่อได้สร้างพระสมเด็จบาง ขุนพรหม และการปลุกเสกจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เสร้จเรียบร้อยแล้วจึงได้ทำการบรรจุในเจดีย์องค์ใหญ่ที่วัดบางขุนพรหม
เสมียนตราด้วงได้จัดทำแบบพิมพ์พระเพิ่มคือ พิมพ์ไสยาสน์,พิมพ์พระสีวลี, และหมอนข้างเล็ก เพื่อบรรจุไว้ในเจดีย์เล็ก เนื้อมวลสารเช่นเดียวกัน เรียกพระ "สมเด็จบางขุนพรหมกรุเจดีย์เล็ก "พร้อมกันนั้นสมเด็จ(โต)ได้ปลุกเสก และบรรจุลงกรุในคราวเดียวกัน
ช่วงแรก ๆ นักนิยมพระไม่สนใจ ต่อมาภายหลังดูเนื้อ และคราบกรุหนา ๆ ก็ยอมรับว่าเป็นเนื้อ และยุคสมัยเดียวกัน สมเด็จวัดใหม่อมตรส กรุเจดีย์เล็ก องค์สวย ๆ ไม่บิ่น คราบกรุหนา ๆนักนิยมพระเครื่อง ตั้งราคาไว้ถึง 6 หลักเชียว
พ.ศ. 2416 เกิดอหิวาตกโรคมีผู้มีจิตศัทธา อาราธนาพระสมเด็จฝนองค์พระสวดพระคาถาชินบัญชรผสมน้ำรักษาโรคหายได้ จึงมีผู้ลักลอบตกเบ็ดพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมเพื่อรักษาโรค และให่เช่าบูชา
เปิดกรุ ทั้งหมด 3 ครั้งไม่เป็นทางการ 2 ครั้ง ปีพ.ศ.2436 และ2459 เรียก"พระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่า"ไม่รวมการตกเบ็ดพระโดยวิธีปั้นดินเหนียวผูกเชือกหย่อนลงไปในกรุให้พระติดดินเหนียวออกมา..แต่เซียนพระนิยมเรียกพระที่ขโมยออกมาที่ไม่มีคราบกรุ..มากว่า..ส่วนพระที่มีราบกรุเรียก "พระสมเด็จบางขุนพรหมกรุใหม่"
พ.ศ.2485 น้ำท่วมใหญ่กรุงเทพมหานคร และท่วมวัดบางขุนพรหม พระที่ได้มาหลังปีนี้จึงค่อนข้างขาวซีด และเกิดคราบกรุ ตระไคร่น้ำ และคราบขาวนักนิยมพระเครื่องเรียกฟองเต้าหู้
เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2500 ทางวัดได้พบว่ามีผู้เจาะกรุเข้าไปในเจดีย์ และนับว่าเป็นการขุดเจาะกรุสำเร็จเป็นครั้งแรก
เมื่อพยายามป้องกัน..จัดเวรยามอย่างไรไม่ได้ผล..พระครูอมรคณาจารย์(เส็ง)เจ้าอาวาสในขณะนั้นจึงนำเรื่องเข้าหาพระเถระผู้ใหญ่..และแต่งตั้งคณะกรรมการโดยท่านเจ้าคณะอำเภอพระนครเป็นประธาน พระสงฆ์ในวัดร่วมเป็นกรรมการ...ฝ่ายฆาราวาสเชิญนายบุญทอง เลขกุล เป็นประธาน ..และได้เชิญ ฯพณฯท่านพลเอกประพาส จารุเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในการเปิดกรุ ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2500 การเปิดกรุครั้งนี้เรียก "พระสมเด็จบางขุนพรหม..กรุใหม่."
ผู้เข้าชม
30510 ครั้ง
ราคา
-
สถานะ
จองแล้ว
โดย
พีพีพระเครื่อง
ชื่อร้าน
พีพีพระเครื่อง
ร้านค้า
ppprakroung.99wat.com
โทรศัพท์
0894483434
ไอดีไลน์
tanetbty
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกสิกรไทย / 057-1-47965-6
เหรียญหลวงพ่อเกษม เขมโก รุ่นสร
พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่
เหรียญหลวงพ่อสด งานสมโภชอายุคร
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์กลีบบัว
พระสมเด็จหลวงพ่อเกิดหลังยันต์ห
พระหลวงพ่อโต พิมพ์ขัดสมาธิ กรุ
พระสมเด็จอาจารย์เชื้อ หนูเพชร
เหรียญหลวงพ่อเจริญ หลังยันต์น้
รูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พ
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
ลงพระฟรี
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ลืมรหัสผ่าน
ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
ว.ศิลป์สยาม
บ้านพระสมเด็จ
ก้อง วัฒนา
เจริญสุข
บ้านพระหลักร้อย
ชา วานิช
ชาวานิช
ปลั๊ก ปทุมธานี
jazzsiam amulet
ยอด วัดโพธิ์
TotoTato
น้ำตาลแดง
kumpha
termboon
พีพีพระสมเด็จ
ภูมิ IR
Nithiporn
ep8600
nattapong939
digitalplus
ขวัญเมือง
Poosuphan89
tintin
fuchoo18
Achi
tumlawyer
Muthita
เทพจิระ
พีพีพระเครื่อง
โกหมู
ผู้เข้าชมขณะนี้ 1078 คน
เพิ่มข้อมูล
พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่ พร้อมใบเซอร์
ส่งข้อความ
ชื่อพระเครื่อง
พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่ พร้อมใบเซอร์
รายละเอียด
-รับประกันความแท้ตามตำราและหลักวิทยาศาสตร์ รวมถึงธรรมชาติวิทยา
-เป็นพระบ้านโดยแท้ ซึ่งคุณพ่อกิมเฮี้ยง แซ่อึ้ง ได้เริ่มเก็บสะสมวัตถุมงคลตั้งแต่ ปี 2488 และได้รับจากวัดและเจ้าอาวาสโดยตรงเป็นส่วนใหญ่
-เฉพาะที่คุณพ่อเก็บไว้ก็กว่า 70 ปีแล้วครับ
-การพิจารณาพระสมเด็จ 1.มีที่มา 2.มีพิมพ์ทรงตามตำรา 3.มีอายุความเก่าถึงยุคตามธรรมชาติ 4.มีมวลสาร เป็นต้น
*******************
พ.ศ. 2411-2413 การก่อสร้างปฎิสังขรณ์วัดใหม่เริ่มดำเนินการโดยสมเด็จพุฒาจารย์(โต)ประธานฝ่ายสงฆ์ เสมียนตรา (ด้วง) ต้นตระกูลธนโกเศศ และเครือญาติ..ฝ่ายฆาราวาส บูรณะวัดบางขุนพรหมนำพระสมเด็จจำนวน 84,000 องค์ เสร็จสมบูรณ์
ได้ขอประทานผงวิเศษจากสมเด็จพุฒาจารย์(โต) เพื่อสร้างพระสมเด็จ และให้ท่านปลุกเสกบรรจุในเจดีย์ จึงเรียกว่า "พระสมเด็จบางขุนพรหม"
เสมียนตราด้วง ท่านเป็นต้นสกุล ธนโกเศศ เป็นคหบดีผู้มั่งคั่งย่านบางขุนพรหม และจากหน้าประวัติของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อดีตท่านเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ ผู้ประติมากรรมพระสมเด็จวัดระฆัง อันมีค่านิยมสูงจนรั้งตำแหน่งราชาแห่งพระเครื่องมาโดยตลอดนั้น ท่านเสมียนตราด้วง ท่านได้ปวารณาตัวเป็นโยมอุปัฏฐากและรับใช้ใกล้ชิดในท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ พระองค์นั้นอย่างเสมอต้นเสมอปลายตลอดมาทุกยุคทุกสมัย แต่ครั้งท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังเป็นสามเณร และได้จำเริญสมณศักดิ์จนได้รับพระมหากรุณาธิคุณสถาปนาเป็นที่สมเด็จพระพุฒา จารย์ จนกระทั่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านชราภาพ ชนม์มายุได้ ๘๔ ปี จึงได้ลาจากสมณศักดิ์ยกขึ้นเป็นกิตติมศักดิ์ ท่านได้จึงมาพักผ่อนและแสวงหาความสงบวิเวกอยู่ ณ ที่วัดบางขุนพรหม กำกับดูแลช่างเขียนภาพประวัติส่วนตัวของท่านและควบคุมช่างก่อสร้างพระศรี อริยเมตไตรยอีกด้วย
วัดบางขุนพรหมในอดีตนั้นเป็นวัดที่มีอาณาเขตที่กว้างขวางมากวัดหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านกลับมาพักผ่อนเป็นที่สำราญอารมณ์อยู่นั้น ได้มีชาวบ้านในย่านบางขุนพรหมได้นำเอาที่ดินอันเป็นเรือกสวนไร่นามาถวายท่าน เจ้าประคุณสมเด็จฯ แล้วรวมเป็นที่ดินของวัดบางขุนพรหม และเพื่อให้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างพระหลวงพ่อโต เมื่อรวมที่ดินของวัดบางขุนพรหมแล้วมีอาณาเขตกว้างขวาง ทิศตะวันตกจดแม่น้ำเจ้าพระยา ทางทิศเหนือจดคลองเทเวศร์ ทิศตะวันออกถึงบ้านพานบ้านหล่อพระนคร
ครั้นถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.๕ ทรงพิจารณาเห็นความจำเป็นในการถมนาเพื่อความเจริญของบ้านเมือง จึงทรงมีพระราชดำริให้ตัดถนนวิสุทธิ์กษัตริย์ผ่านกลางวัดบางขุนพรหม จึงทำให้วัดบางขุนพรหมต้องแยกออกเป็นสองวัด คือ วัดบางขุนพรหมใน หรือ วัดใหม่อมตรส ในปัจจุบัน และวัดบางขุนพรหมนอก คือวัดอินทรวิหาร อันเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโต (พระศรีอริยเมตไตรย) และเมื่อทางราชการได้ตัดถนนสามเสนก็ได้แบ่งที่ดินของวัดบางขุนพรหมออกไปอีก ส่วนหนึ่ง
วัดบางขุนพรหมเป็นวัดเก่าแก่มีมาแต่สมัยอยุธยาเป็นราชธานี และเป็นวัดที่สร้างอยู่บนที่ดอนห้อมล้อมไปด้วยเรือกสวนและไร่นา เข้าใจว่าเป็นวัดที่ประชาชนในละแวกนั้นช่วยกันสร้างและบูรณะสืบต่อๆ กันมา เมื่อปีจอ พุทธศักราช ๒๓๒๑ เจ้าอินทรวงศ์ราชโอรสในพระเจ้าธรรมเทววงศ์ ผู้ครองนครศรีสัตนาครหุตได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ในรัชสมัยพระเจ้า ตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี ต่อมาครั้นสร้างกรุงเทพมหานครเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ทว่าวัดบางขุนพรหมไม่เคยได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์เลยสักครั้งเดียว สิ่งก่อสร้างต่างๆ ได้ปรักหักพังลง สืบต่อมาจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.๕ เสมียนตราด้วง พร้อมกับชาวบ้านในย่านบางขุนพรหมและท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้ร่วมใจกันบริจาคจตุปัจจัยไทยธรรมจัดการสร้าง และซ่อมแซมวัดบางขุนพรหมขึ้นมาใหม่ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ นอกจากนั้นแล้วยังได้จัดสร้างพระมหาเจดีย์องค์ใหญ่ประดิษฐานไว้ที่หน้าวัด บางขุนพรหมเป็นพิเศษอีกด้วย เมื่อดำเนินการสร้างพระมหาเจดีย์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านเสมียนตราด้วงพร้อมกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้จัดสร้างพระพิมพ์เนื้อผงสีขาวอย่างพระสมเด็จวัดระฆัง มีจำนวนมากถึง ๘๔,๐๐๐ องค์ บรรจุไว้ในพระมหาเจดีย์เพื่อเป็นพุทธบูชาและการสืบพระศาสนาตามคดีโบราณนิยม อีกด้วย
อนึ่งการสร้างพระสมเด็จบรรจุพระมหาเจดีย์ที่วัดบางขุนพรหมนั้นได้รับความ อนุเคราะห์จากท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ โดยให้ใช้แม่พิมพ์สมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามของท่านที่เคยใช้ในการสร้างพระสม เเด็จวัดระฆัง คือ
พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่
พระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์
พระสมเด็จพิมพ์เกศบัวตูม
พระสมเด็จพิมพ์ฐานแซม
และปรากฎสมเด็จวัดระฆัง และสมเด็จวัดเกศไชโยปะปนอยู่ด้วย
นอกจากพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆัง ดังกล่าวแล้วนั้น ทางคณะท่านผู้สร้างพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมยังได้ให้นายช่างผู้แกะแม่พิมพ์ วัดระฆัง เจ้าเดิม แกะแม่พิมพ์พระสมเด็จทั้ง ๔ พิมพ์ ดังกล่าวแล้วเพิ่มเติมขึ้นมาอีก และยิ่งไปกว่านั้นยังให้แกะแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมขึ้นมาในรูปทรง ใหม่อีก ๗ พิมพ์คือ
พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้าย
พระสมเด็จพิมพ์สังฆาฏิ
พระสมเด็จพิมพ์สังฆาฏิ
พระสมเด็จพิมพ์ฐานคู่
พระสมเด็จพิมพ์ปรกโพธิ์
พระสมเด็จพิมพ์อกครุฑ
พระสมเด็จพิมพ์ไสยาสน์
รวมในกรุวัดบางขุนพรหมมีพระทั้งสิ้น ๑๑ พิมพ์ด้วยกันก็จริงและแต่ละพิมพ์ทรงยังมีแม่พิมพ์ที่แตกต่างกันออกไปอีกมาก อย่างเช่น พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้าย มีแม่พิมพ์ที่ต่างพิมพ์กันไปอีกหลายพิมพ์ ตัวอย่างเช่น พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายใหญ่ พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายแขนกลม พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายแขนหักศอก เป็นต้น
อนึ่ง การบรรจุพระสมเด็จไว้ในพระเจดีย์ที่วัดบางขุนพรหมนั้นเป็นงานบุญครั้งยิ่ง ใหญ่ซึ่งนานทีปีหนจึงจักมีสักครั้งหนึ่ง ในครั้งต่อมาการบรรจุพระพิมพ์ ๒๕ พุทธศตวรรษ ที่นับเป็นการใหญ่และค่อนข้างจะเป็นทางการดังนั้น การบรรจุพระสมเด็จที่กรุวัดบางขุนพรหม ชาวบ้านร้านตลาด ตลอดจนประชาชนทั้งไกลและใกล้ย่อมจักทราบกันเป็นอย่างดีและเป็นข่าวที่เล่า ขานสืบต่อๆ กันมาจนกระทั่งถึงสงครามโลกครั้งที่ ๑ ประเทศไทยได้ส่งทหารหาญไปร่วมรบ ในการนี้ได้ปรากฎมีประชาชนแอบเข้ามาใช้ดินเหนียวปั้นเป็นลูกกลมๆ แล้วหย่อนลงไปตามช่องลมพระเจดีย์เพื่อให้พระสมเด็จติดก้อนดินขึ้นมา ทีแรกก็ทำกันอย่างลับๆ ล่อๆ เพียงไม่กี่ตน ครั้นตกได้พระสมเด็จขึ้นมามีการเช่าซื้อปรากฎเป็นสนนราคาขึ้นมาแล้วเท่านั้น แหละ ปรากฎว่าแห่กันมาเป็นการโกลาหล ครั้งแรกทางวัดมิได้ห้ามหวงแต่อย่างใด แต่พอนานๆ เข้าเห็นว่าจะไม่ได้การ จึงทำการโบกปิดช่องลมที่พระเจดีย์เสียการตกเบ็ดพระสมเด็จกรุบางขุนพรหมได้ ยุติลงพระสมเด็จบางขุนพรหมซึ่งได้จากการตกในครั้งนั้น นิยมเรียกว่าพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่าจะไม่ปรากฎขี้กรุชัดเจน ผิวจะเรียบ จะมีอยู่บ้างก็เป็นชนิดราบนวลขาว ที่เรียกว่าฟองเต้าหูเท่านั้น ผิวพระจึงเรียบงดงามเพราะไม่มีขี้กรุผสมผสานกับดินกรุดินแน่นเป็นก้อนสี น้ำตาลแก่ ชนิดลอกขี้กรุออกนั้นต้องใช้หัวกรอฟันจึงจะเอาออกได้วัดบางขุนพรหมได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดใหม่อมตรส ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวบูรณะปฏิสังขรณ์กรุงเทพฯ ๑๕๐ ปี (พ.ศ. ๒๔๗๕)
เมื่อได้พิจารณาถึงการสร้างพระสมเด็จบางขุนพรหมแล้ว ท่านจะเห็นว่า การสร้างพระสมเด็จในครั้งนี้นั้นไม่เหมือนกับการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังที่อยู่ในลักษณะ ที่ค่อยทำค่อยไปไม่รีบเร่ง รวบรวมผงวิเศษวัสดุอาถรรพณ์และวัตถุมงคลได่แค่ไหนก็ทำไปแค่นั้น มวลสารในพระสมเด็จวัดระฆัง จึงหลากหลายและมีความแตกต่างกันไปบ้างเป็นธรรมดา เพราะการผสมมวลสารต่างกรรมต่างวาระกัน ผิดกับการสร้างพระสมเด็จที่วัดบางขุนพรหม เข้าใจว่าคงจะระดมชาวบ้านช่องมาช่วยกันสร้างกันเป็นงานใหญ่ครั้งมโหฬารให้ สำเร็จกันเลยทีเดียว มวลสารของสมเด็จกรุบางขุนพรหมส่วนมากจึงเป็นไปในลักษณะอย่างเดียวกันคือ เนื้อจะแก่ปูนหอย หรือปูนเพชร ผสมผสานด้วยผงวิเศษซึ่งสำเร็จจากสูตรสนธิ์อันเป็นอักขระเลขยันต์ตามตำรา บังคับ เช่น ผงปถมัง อิถเจมหาราช ตรีนิสิงเห และผงนะอักขระวิเศษต่างๆ อันมีนะ ๑๐๘ เป็นต้น เนื้อหาจึงดูกระด้างไม่หนึกนุ่มและอุดมไปด้วยมวลสารอันมีวัสดุมงคลและ อาถรรพณ์อย่างกับพระสมเด็จวัดระฆัง หรือจะพูดโดยสรุปก็คือมวลสารจะหนักไปทางผงปูนหอยเมื่อได้สร้างพระสมเด็จบาง ขุนพรหม และการปลุกเสกจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เสร้จเรียบร้อยแล้วจึงได้ทำการบรรจุในเจดีย์องค์ใหญ่ที่วัดบางขุนพรหม
เสมียนตราด้วงได้จัดทำแบบพิมพ์พระเพิ่มคือ พิมพ์ไสยาสน์,พิมพ์พระสีวลี, และหมอนข้างเล็ก เพื่อบรรจุไว้ในเจดีย์เล็ก เนื้อมวลสารเช่นเดียวกัน เรียกพระ "สมเด็จบางขุนพรหมกรุเจดีย์เล็ก "พร้อมกันนั้นสมเด็จ(โต)ได้ปลุกเสก และบรรจุลงกรุในคราวเดียวกัน
ช่วงแรก ๆ นักนิยมพระไม่สนใจ ต่อมาภายหลังดูเนื้อ และคราบกรุหนา ๆ ก็ยอมรับว่าเป็นเนื้อ และยุคสมัยเดียวกัน สมเด็จวัดใหม่อมตรส กรุเจดีย์เล็ก องค์สวย ๆ ไม่บิ่น คราบกรุหนา ๆนักนิยมพระเครื่อง ตั้งราคาไว้ถึง 6 หลักเชียว
พ.ศ. 2416 เกิดอหิวาตกโรคมีผู้มีจิตศัทธา อาราธนาพระสมเด็จฝนองค์พระสวดพระคาถาชินบัญชรผสมน้ำรักษาโรคหายได้ จึงมีผู้ลักลอบตกเบ็ดพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมเพื่อรักษาโรค และให่เช่าบูชา
เปิดกรุ ทั้งหมด 3 ครั้งไม่เป็นทางการ 2 ครั้ง ปีพ.ศ.2436 และ2459 เรียก"พระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่า"ไม่รวมการตกเบ็ดพระโดยวิธีปั้นดินเหนียวผูกเชือกหย่อนลงไปในกรุให้พระติดดินเหนียวออกมา..แต่เซียนพระนิยมเรียกพระที่ขโมยออกมาที่ไม่มีคราบกรุ..มากว่า..ส่วนพระที่มีราบกรุเรียก "พระสมเด็จบางขุนพรหมกรุใหม่"
พ.ศ.2485 น้ำท่วมใหญ่กรุงเทพมหานคร และท่วมวัดบางขุนพรหม พระที่ได้มาหลังปีนี้จึงค่อนข้างขาวซีด และเกิดคราบกรุ ตระไคร่น้ำ และคราบขาวนักนิยมพระเครื่องเรียกฟองเต้าหู้
เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2500 ทางวัดได้พบว่ามีผู้เจาะกรุเข้าไปในเจดีย์ และนับว่าเป็นการขุดเจาะกรุสำเร็จเป็นครั้งแรก
เมื่อพยายามป้องกัน..จัดเวรยามอย่างไรไม่ได้ผล..พระครูอมรคณาจารย์(เส็ง)เจ้าอาวาสในขณะนั้นจึงนำเรื่องเข้าหาพระเถระผู้ใหญ่..และแต่งตั้งคณะกรรมการโดยท่านเจ้าคณะอำเภอพระนครเป็นประธาน พระสงฆ์ในวัดร่วมเป็นกรรมการ...ฝ่ายฆาราวาสเชิญนายบุญทอง เลขกุล เป็นประธาน ..และได้เชิญ ฯพณฯท่านพลเอกประพาส จารุเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในการเปิดกรุ ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2500 การเปิดกรุครั้งนี้เรียก "พระสมเด็จบางขุนพรหม..กรุใหม่."
ราคาปัจจุบัน
-
จำนวนผู้เข้าชม
30511 ครั้ง
สถานะ
จองแล้ว
โดย
พีพีพระเครื่อง
ชื่อร้าน
พีพีพระเครื่อง
URL
http://www.ppprakroung.99wat.com
เบอร์โทรศัพท์
0894483434
ID LINE
tanetbty
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกสิกรไทย / 057-1-47965-6
กำลังโหลดข้อมูล
หน้าแรกลงพระฟรี